ยายของลูกทำกรรมใดไว้ จึงต้องป่วยด้วยโรคมากมาย
คุณตาเป็นลูกคุณพระสมัยรัชกาลที่ ๖ มีฐานะดีมาก ท่านชอบยิงนกตกปลาตั้งแต่วัยหนุ่มเมื่อ แต่งงานกับคุณยาย ท่านมีความสุขกันมาก แต่ความสุขนั้นมีระยะเวลาสั้นนักเนื่องจากคุณตาได้ล้มป่วยลงอย่างกะทันหันด้วยวัณโรค และเสียชีวิตด้วยวัยเพียง ๒๕ ปี
เหตุใดลูกจึงเกิดมาตัวเล็กแต่แข็งแรง
ครอบครัวของลูกมีพี่น้องทั้งหมด ๖ คนตัวลูกเป็นคนที่ ๔ พ่อแม่ตั้งชื่อลูกว่า ด.ญ. ภูเขาซึ่งลูกก็ไม่ทราบว่า ทำไมถึงตั้งชื่อลูกว่าภูเขาทั้งที่ลูกตัวเล็กนิดเดียว ในจำนวนพี่น้องทั้งหมดลูกตัวเล็กกว่าใครๆ ไปโรงเรียนก็โดนเพื่อนๆ ล้อ คุณครูก็ขำตัวลูก
อยู่ก็รัก จากก็คิดถึง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แบ่งปันลาภทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อนึ่ง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้นกับเพื่อนสหพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๖)
ยอดนักสร้างบารมีทั้งหลายในกาลก่อน กว่าที่ท่านจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้นั้น ต้องชิงช่วงชีวิตในการสร้างบารมี เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในขณะที่ผู้อื่นประมาทอยู่ เป็นผู้ตื่นอยู่ในขณะที่ผู้อื่นหลับใหล การสร้างบารมีแบบชิงช่วงนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยกำลังใจอันสูงยิ่ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - แรงบันดาลใจ ( ๑ )
พระราชาทรงมองดูลำต้น พลางดำริว่า ต้น มะม่วงต้นนี้ เมื่อเช้านี้เอง ยังเต็มไปด้วยผล เป็นพวงสวยงาม ทำความอิ่มตาเบิกบานใจให้แก่ผู้พบ เห็นที่ผ่านมาผ่านไป มาบัดนี้ ถูกเก็บผลหมดแล้ว มีกิ่งหักห้อยรุ่งริ่งดูไม่งาม แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล พระองค์ทรงกำหนดไตรลักษณ์เช่นนี้ ทรงเจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๖ ( เิดินทางสู่เขาวงกต )
แม้พระโพธิสัตว์ทรงรู้ว่า ถูกขับไล่ให้ไปอยู่ในป่าก็มิได้หวั่นไหว รุ่งขึ้นของวันใหม่ ท่านได้บริจาคสัตตสตกมหาทาน ด้วยความปีติยินดี เหมือนไม่มีเหตุร้ายใดๆ เกิดขึ้น พวกเทวดาได้แจ้งพระราชาในชมพูทวีป ว่า พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญมหาทาน และกำลังพระราชทานนางขัตติยกัญญา พวกกษัตริย์จึงเสด็จมาด้วยเทวานุภาพ รับนางขัตติยกัญญาเหล่านั้นไปเป็นมเหสี
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - ไม่มีความเห็นผิด ชีวิตปลอดภัย
ปัจจุบันนี้ เราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน ยุคที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า โลกาภิวัตน์ แม้จะอยู่ไกลกันคนละซีกโลก ก็สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารภายในเวลาไม่กี่นาที แต่ในความเป็นจริงแล้วเรายังตกอยู่ในกระแสโลกที่เรียกว่า โลกานุวัตร หมายความว่า เป็นไปตามโลก เพราะฉะนั้น สิ่งที่ควรระวังจากการรับฟังข่าวสาร คือ เมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องใดแล้ว ควรใช้โยนิโสมนสิการ คือ พิจารณา ให้ละเอียดรอบคอบ ใช้สติและปัญญาพิจารณาเหตุผล
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๓)
พระราชารู้สึกกลัวในกาเมสุมิจฉาจารที่พระองค์กำลัง จะล่วงละเมิด ทรงเริ่มเกิดความสังเวชสลดพระทัย และอยากจะช่วยเปรตให้เสวยสุข จึงตรัสถามว่า "ทำอย่างไรท่านจึงจะได้เครื่องนุ่งห่ม ขอจงบอกเราเถิด หากเราช่วยท่านได้ เราก็ยินดี และเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า ผลแห่งกรรมดีสามารถอุทิศให้ได้"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๒)
คนพาลทำกรรมชั่วที่มีผลเผ็ดร้อน แล้วเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นไม่ดี ไม่ควรกระทำ ส่วนบุคคลใดทำกรรมใดแล้ว มีหัวใจแช่มชื่นเบิกบาน ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้น เป็นความดี ควรทำ
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๖ ( ผู้ผดุงความยุติธรรม )
หนุ่มชาวนาตื่นขึ้นมาไม่เจอโคของตน ก็รีบวิ่งออกติดตามรอยเท้าโคไป เมื่อตามไปพบก็ร้องบอกโจรให้นำโคคืนมา ตนจะไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร แต่เหตุการณ์กลับตรงข้าม เพราะโจรอ้างว่าโคนี้เป็นของเขา เมื่อไม่ยอมกันทั้งสองเกิดการทะเลาะวิวาท ชาวบ้านจึงพามาหามโหสถให้ช่วยตัดสินว่า ใครเป็นเจ้าของโคตัวนี้กันแน่